หน้าเว็บ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตีนตุ๊กแก 
ชื่อวิทยาศาสตร์คือ  Ficus pumila L 



                 ตีนตุ๊กแก มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ  Ficus pumila L เป็นพืชวงศ์  Moraceae มีชื่อสามัญว่า  climbing Fig, Creeping Fig, Creeping Rubber Fig ชื่ออื่นๆ  ตีนตุ๊กแก, มะเดื่อเถา และมีถิ่นกำเนิดทางตอนเหนือของเวียดนาม และทางตอนใต้ของจีน       

            ลักษณะ เป็นไม้ชอบแดด ชอบน้ำ เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย ชอบแสงแดดจัด ตรงลำต้นเป็นเถา รากเล็กแตกออกตามข้อเอาไว้สำหรับ เกาะ-เลื้อย-ดูดอาหารจากที่ยึดเกาะ ใบคล้ายรูปหัวใจ มีขนาดเล็ก พื้นใบมีสีเขียว มีปุ่มเล็ก ๆ คล้ายกับตีนของตุ๊กแก ปลายใบแหลม ผิวใบสาก กลีบดอกสีเหลือง ออกดอกตลอดปี มีผลลักษณะเป็นหลอดสีน้ำตาลเทา มีขนขึ้นเป็นพู สีเทาขาว นิยมปลูกติดกับกำแพงให้ทอดเลื้อยคลุมทั่วทั้งกำแพง (ในต่างประเทศนิยมกันมาก)       
           
            ประโยชน์ เป็นไม้ประดับตามรั้ว กำแพงทั่วไป ปลูกเพื่อความสวยงาม 




วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

Selaginella คืออะไร

Division Lycophyta

           ดิวิชันไลโคไฟตา(Division Lycophyta) สปอโรไฟต์ของพืชดิวิชันนี้มีราก ลำต้น และใบครบทุกส่วน มีลักษณะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่มีขนาด ไม่ใหญ่มากนัก พวกที่เจริญอยู่บนพื้นดิน อาจมีลำต้นตั้งตรง หรือทอดนอน บางชนิดอาศัยเกาะบนต้นไม้อื่น ลำต้นแตกกิ่งเป็น 2 แฉก ใบมีขนาดเล็ก เป็นใบแบบ ไมโครฟิลล์(microphyll)คือเป็นใบที่มีเส้นใบเพียงเส้นเดียว สปอโรไฟต์ที่เจริญเต็มที่ แล้วจะสร้างอับสปอร์บนใบที่มักมีรูปร่างและขนาดแตกต่างไป จากใบที่พบทั่วไป เรียกใบชนิดนี้ว่า สปอโรฟิลล์ (sporophyll) ซึ่งจะมาเรียงซ้อนกันแน่นอยู่ที่ปลายกิ่งเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า สโตรบิลัส (strobilus) หรือโคน (cone) พืชในดิวิชันนี้มีทั้งที่สร้างสปอร์ชนิดเดียวและ 2 ชนิด ตัวอย่างที่รู้จักกันดีได้แก่ Lycopldium และ Selaginella
และเราจะกล่าวถึงความหมายของ Selaginella ว่าคืออะไรSelaginella หรือเรียกกันตามภาษาท้องถิ่นว่า ตีนตุ๊กแก พ่อค้าตีเมีย หญ้าร้องไห้ เฟือยนก ทั้งหมดนี้จัดเป็น Selaginella เหมือนกัน Selaginella มีลักษณะคล้ายๆกับไลโคโปเดียม ลำต้นแตกแขนงเป็น 2 แฉก อาจเป็นชนิดตั้งตรงหรือเลื้อยไปตามดิน มีใบขนาดเล็กเรียงเป็น 4 แถว ตามความยาวของลำต้นที่โคนใบมี ligule ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบเกล็ดติดอยู่ซึ่งไม่พบในไลโคโปเดียม บริเวณปลายกิ่งมีสตรอบิลัส ซึ่งมีอับสปอร์ 2 ชนิด คือ Megasporangium ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่สร้าง Megaspore ซึ่งจะเจริญไปเป็นแกมีโตไฟต์เพศเมียสร้างไข่ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียก Microsporangium มีขนาดเล็ก ซึ่งจะเจริญไปเป็นแกมีโตไฟต์เพศผู้ สร้างเสปิร์ม